ประวัติ ของ ปีแยร์ ฌ็องซ็อง

ฌ็องซ็องเกิดที่ปารีส พ่อเป็นนักดนตรีที่มีชื่อเสียง เขาเรียนคณิตศาสตร์และฟิสิกส์ และทำงานเป็นครู แต่ใช้ชีวิตโดยบินไปทั่วโลกด้วยการเป็นสมาชิกของทีมสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ ตั้งแต่ปี 1857 เขาไปเปรูหลายครั้งเพื่อศึกษาการลดลงของสนามแม่เหล็ก ในปี 1874 เขาได้ไปเยือนประเทศญี่ปุ่นเพื่อสังเกตการเคลื่อนผ่านของดาวศุกร์ และประสบความสำเร็จในการสังเกตการณ์ในวันที่ 9 ธันวาคม (มีอนุสาวรีย์สังเกตการณ์ที่ภูเขาคมปิระในเมืองนางาซากิ) และยังสังเกตการณ์การเคลื่อนผ่านของดาวศุกร์ในแอลจีเรียปี 1882 เขายังได้ติดตามสุริยุปราคาไปยังที่ต่าง ๆ เขาไปเยือน เมืองตรานี ของอิตาลีในปี 1867 คุนตูร์ทางตอนใต้ของอินเดียในปี 1868 แอลเจียร์ในปี 1870 ประเทศไทยในปี 1875 (พ.ศ. 2418) หมู่เกาะแคโรไลน์ในปี 1883 และในสเปนในปี 1905

ในปี 1870 ระหว่าง สงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย เขาหนีออกจากกรุงปารีสซึ่งถูกกองทัพปรัสเซียปิดล้อมด้วยบอลลูนและเข้าร่วมในการสังเกตการณ์[1] ในปี 1875 เขาได้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการหอดูดาวปารีส ในปี 1893 ขณะอายุได้ 69 ปี เขาได้ทำสังเกตการณ์เป็นเวลาสี่วันที่ใกล้กับยอดเขามงบล็อง เพื่อลดอิทธิพลของบรรยากาศ

ระหว่างการสังเกตการณ์สุริยุปราคาในอินเดียเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 1868 เขาได้ค้นพบสเปกตรัมของธาตุใหม่ และเมื่อวันที่ 20 ตุลาคมของปีเดียวกันนั้น นอร์แมน ล็อกเยอร์ก็ได้ค้นพบสเปกตรัมเดียวกันนี้ในการสังเกตการณ์สเปกตรัมของดวงอาทิตย์ที่อังกฤษ ธาตุนี้ได้รับการตั้งชื่อภายหลังว่าฮีเลียมโดยล็อกเยอร์ และเอ็ดเวิร์ด แฟรงก์แลนด์

ในปี 1897 ได้มีการจัดตั้งรางวัลฌูล-ฌ็องซ็อง (Prix Jules-Janssen) ขึ้นมา

ใกล้เคียง

ปีแยร์-แอเมอริก โอบาเมอย็องก์ ปีแยร์-ซีมง ลาปลัส ปีแยร์ กูว์รี ปีแยร์ ล็องแบร์ เดอ ลา ม็อต ปีแยร์ รอซีเย ปีแยร์-โอกุสต์ เรอนัวร์ ปีแยร์ เดอ แฟร์มา ปีแยร์ กอลแมซ ปีแยร์ ฟัน โฮยโดงก์ ปีแยร์ บอนาร์